ภูมิภาค
สุรินทร์เตรียมพร้อมรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ย้ำต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
วันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2565, 20.25 น.
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่
วันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ห้องประชุมชั้น2 สำนักงานจัดหางานจังหวัดสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานการประชุม คณะทำงานการนำเข้าแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เข้ามาทำงานในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน เพื่อเตรียมการรับแรงงานชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานในพื้นที่ เช่น เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสุรินทร์ นายอำเภอกาบเชิง สาธารณสุขจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด แรงงานจัดหางานจังหวัด สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด กอ.รมน.จังหวัด ทหาร ตำรวจภูธรจังหวัด เป็นต้น
ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานอยู่ในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์จำนวน 2, 712 คนนายจ้าง เจ้าของสถานประกอบการจำนวน 1, 106 คนเพื่อเป็นการเตรียมรับแรงงานต่างด้าวที่จะนำร่องเข้ามาทำงานในพื้นที่ ซึ่งจะมีการเตรียม การดำเนินการของด่านตรวจคนเข้าเมือง เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ตรวจบัตรผ่านแดนที่ประเทศต้นทางออกให้ จัดทำทะเบียนประวัติแรงงานทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในบัตรผ่านแดนให้แก่แรงงานต่างด้าว เป็นระยะ 30 วัน ต่อครั้ง การเตรียมสถานที่กักตัว (ที่พักคนงาน) ต้องผ่านคณะกรรมการระดับอำเภอประเมินความพร้อมหลังเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานความมั่นคงเฝ้าระวังพื้นโดยรอบการกักตัวโดยให้ปฏิบัติตามแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด คนต่างด้าวต้องเข้ารับการกักตัว โดยคนต่างด้าวที่ฉีดวัคซีนมาจากประเทศต้นทางครบกักตัวอย่างน้อย7 วัน และให้มีการตรวจหาเชื้อ COVD – 19 จำนวน2 ครั้ง โดยวิธี RT-PCR ครั้งที่ 1 ของการกักตัว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7ของระยะเวลาที่ถูกกักตัว กรณีตรวจโรคไม่ผ่าน (พบเชื้อ) ให้เข้ารับการรักษา โดยนายจ้างเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา เมื่อคนต่างด้าวกักตัวครบตามกำหนดและตรวจไม่พบเชื้อ COVID – 19 หรือได้รับการรักษานายจ้างรับคนต่างด้าวเข้าสู่กระบวนการขอรับใบอนุณาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ที่เป็นที่ตั้ง ของสถานประกอบการ
การขอรับใบอนุญาตทำงาน สำนักงานจัดหางานจังหวัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการอนุญาตทำงาน จัดเก็บค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอ ฉบับละ 100 บาท ค่าใบอนุญาตทำงาน ฉบับละ225บาท ออกใบอนุญาตทำงาน บต.50 ไม่เกิน 3 เดือน ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาการอนุญาต ต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักร หากต้องการจะเข้ามาทำงานใหม่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ต่อไป จะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
นางทรงลักษณ์ วรภัย รองผู้ว่าสุรินทร์ กล่าว กับผู้สื่อข่าวว่า การประชุมในครั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้แรงงานต่างด้าวที่จะเข้ามาทำงานใน จ.สุรินทร์มีจำนวนลดน้อยถอยลงทำให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างได้รับผลกระทบในการจ้างแรงงานด้วย ในการประชุมในครั้งนี้ เราได้สนองนโยบายของทางรัฐบาล ด้วยการนำเข้าแรงงานต่างด้าว แต่การนำเข้าแรงงานต่างด้าวนั้น ก็ต้องนำเข้าแบบถูกกฎหมายด้วย และอยู่ภายใต้การควบคุมของสถานการณ์โควิดด้วยเราจะเห็นว่าในสถานการณ์ปัจจุบันของ จ.สุรินทร์ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาส่วนใหญ่ก็จะเป็นแรงงานต่างด้าวกัมพูชา ผ่านเข้ามาทางด่านชายแดนช่องจอม อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ แล้วพอเข้ามาทำงานแล้วส่วนหนึ่งใบอนุญาตก็จะหมดอายุด้วยดงนั้นในการที่แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ที่ใบอนุญาตจะหมดอายุ เราจะต้องแจ้งนายจ้างและลูกจ้างได้ทราบและไปดำเนินการให้ถูกต้อง
ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเราต้องการเห็นแรงงานที่เข้ามาทำงานใน จ.สุรินทร์เป็นแรงงานที่เข้ามาอย่างถูกต้องและปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยเรา ต้องปฏิบัติตามมาตรการการควบคุมโรคระบาดโควิด ด้วย ในการนำเข้าก็จะขึ้นอยู่ 2 ส่วน ส่วนแรก คือจะต้องเป็นความต้องการของนายจ้างด้วย ที่จะต้องมาแจ้งทางแรงงานด้วยว่าต้องการแรงงานประเภทใดและเราก็จะแจ้งประชาสัมพันธ์ให้กับแรงงานเข้ามา และนายจ้างก็จะได้รับแรงงานที่ถูกต้องและตรงกับงานที่ต้องการรับด้วย เราต้องการให้เริ่มเร็วที่สุด โดยเฉพาะแรงงานที่ใบอนุญาตหมดอายุที่จะต้องดำเนินการภายในวันที่ 1 เม.ย.นี้ถ้ามีการปฏิบัติตามหลัก เอกสารหลักฐานถูกต้อง รวมทั้งแรงงานที่ต้องการทำงานใน จ.สุรินทร์ ด้วย 1.ถ้าท่านมีบอเดอร์พาส ท่านก็สามารถขออนุญาตในฝั่งของท่านเรียบร้อยแล้ว และมีการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มและมีการตรวจเอทีเคโดยหน่วยงานของทางราชการที่รับรองให้ แล้วท่านก็ขออนุญาตผ่านตามขั้นตอนกระบวนการที่ประเทศไทยกำหนด ผ่านทั้งด่านตรวจโรค ด่านตรวจคนเข้าเมือง มาแจ้งผ่านกระบวนการทางสาธารณสุข ก็จะผ่านทุกอย่าง พอผ่านกระบวนการนี้เสร็จก็จะต้องมากักตัวอีก 7 วันก็จะมีมาตรการในการควบคุมโรค หลังจาก 7 วันและมีการตรวจแล้วผ่านไม่ได้ติดเชื้อแล้ว ก็จะอนุญาตให้มาทำงานใน จ.สุรินทร์ได้เลย ซึ่งตัวเลข 2 พันคนคือจำนวนแรงงานต่างด้าวที่มาทำงานใน จ.สุรินทร์ในขณะนี้ในสถานการณ์ปัจจุบันทางผู้ประกอบการได้แจ้งประสานงานมาที่จัดหางาน จ.สุรินทร์ ว่ายังขาดแคลนแรงงานในสถานประกอบการอยู่ ยังต้องการให้ทาง
แรงงานต่างด้าวได้เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เราก็พยายามผลักดัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ผวจ.สุรินทร์ ที่ต้องการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานใน จ.สุรินทร์ อย่างถูกต้อง และเปิดโอกาสให้ทุกคนด้วย ซึ่งวันนี้เป็นการประชุมคณะกรรมการในการนำเข้าแรงงานต่างด้าว เพื่อแจ้งให้ทราบแนวทาง และหาแนวทางร่วมกันว่า แนวทางที่กำหนดนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถกำหนดได้ตามนั้นหรือไม่ และถ้าไม่ปฏิบัติตามนั้น นั้นมีหลัดเกณฑ์หรือเงื่อนไขอะไรอีกหรือไม่ที่จะเพิ่มเติมเข้ามา หรือมีวิธีการปฏิบัติไหนที่เรามองว่ามันต้องเพิ่มเข้ามา เช่นการตรวจเอทีเค โดยปกติที่อยู่ในประเทศเรา เราจะทำการตรวจเองก็ได้ โดยไม่มีใบอนุญาตรับรอง แต่การนำเข้าแรงงาน ด้วยการตรวจเอทีเค จะต้องเป็นการตรวจโดยหน่วยงานของเรา หรือสถานที่ที่ออกใบรับรองได้ ที่เราจะสามรถยอมรับได้ ซึ่งก็มีหลายแนวทางที่คณะทำงานชุดนี้ได้ช่วยกันวิเคราะห์หารือและหาแนวทางต่างๆร่วมกัน
ติดตามข่าวด่วน กระแสข่าวบน Facebook คลิกที่นี่